ปัจจัยที่ทำให้ หูหนวก

ปัจจัยที่ทำให้ หูหนวก

หูหนวก

ความบกพร่องทางการได้ยิน ไม่ว่าจะเป็น หูไม่ได้ยิน หูตึง หูหนวก ไม่ว่าจะข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง อาจเป็นอาการหรือความผิดปกติที่ดูจะไม่รุนแรง แต่สามารถส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมหาศาล ซึ่งการสูญเสียความสามารถในการได้ยินไม่เพียงแต่จะเกิดกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึงหรือช่วงอายุหนึ่ง สามารถเกิดกับคนทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่เด็กทารกแรกเกิดไปจนถึงวัยผู้สูงอายุ แล้วปัจจัยใดบ้างที่เป็นสาเหตุทำให้ หูหนวก หรือไม่สามารถรับรู้และสัมผัสถึงเสียงได้

  • ประสาทหูเสื่อมจากการบาดเจ็บ

หูหนวก สามารถเกิดได้จากการได้รับบาดเจ็บจากแรงกระแทก ที่มีผลมาจากแรงอัดขณะที่ช่องหูปิด ไม่ว่าจะเป็น การถูกตีที่บริเวณใบหูด้วยฝ่ามือ ในบางครั้งสามารถทำให้แก้วหูทะลุถ้าถูกตบอย่างรุนแรง โดยจะมีเลือดออกจากหูเล็กน้อย ปวดหูชั่วคราวและจะมีอาการหูอื้อตามมา นอกจากนี้การแคะหูด้วยไม้แคะหูสามารถส่งผลกระทบได้ด้วยเช่นกัน เพราะไม้แคะหูจะถูกดันลึกเข้าไปในรูหูจนกระทบกับกับแก้วหูทำให้ฉีกได้ หูหนวกยังสามารถเกิดจากการดำน้ำได้อีกด้วย ต้องมีการทดสอบการระบายลมของหูชั้นกลางก่อน เพราะแรงดันใต้ผิวน้ำจะมีความแตกต่างจากปกติอย่างมากซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อหูจนทำให้หูชั้นกลางและแก้วหูฉีกขาดได้

  • ประสาทหูเสื่อมตามวัย

หูหนวก ในวัยผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากการที่ประสาทหูเสื่อมตามวัย เพราะประสาทเซลล์ขนในหูชั้นในที่ทำหน้าที่คอยรับเสียงมีการเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น โดยมักจะได้ยินเสียงแหลม ทำให้ในบางครั้งได้ยินเสียงเด็กหรือเสียงผู้หญิงไม่ชัดเจน โดยอารการประสาทหูเสื่อมนั้นจะสามารถสังเกตได้ยากเพราะจะค่อยเป็นค่อยไป ความสามารถในการได้ยินค่อยๆ ถดถอยลงจนทำให้ไม่สามารถได้ยินในท้ายที่สุด

  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยา

หูหนวก อาจมีสาเหตุมาจากการใช้ยาบางชนิดที่เป็นพิษต่อสุขภาพหู ไม่ว่าจะเป็น ยาปฎิชีวนะแบบฉีด 

ที่ใช้สำหรับรักษาโรคติดเชื้อ ยารักษาโรคมาลาเรีย ยาแก้ปวดหรือยาแก้ไข้ ยาหยอดหูผิดประเภท ซึ่งยาบางชนิดจะเริ่มมีผลต่อหูชั้นใน บางครั้งอาจทำให้ได้ยินเสียงในหูก่อนที่จะเสื่อม ซึ่งพิษของการใช้ยาเหล่านี้จะส่งผลให้หูหนวกแบบถาวร

  • ความผิกปกติที่มีมาตั้งแต่กำเนิด

หูหนวก อาจมีสาเหตุมาจากร่างกายที่มีความผิดปกติมากตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งทารกอาจจะได้รับผลกระทบมาจากพันธุกรรม ซึ่งมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากมารดาได้รับสารหรือเชื้อโรคที่ส่งผลกระทบถึงเด็ก เช่น การใช้ยาฆ่าเชื้อบางชนิด โรคหัดเยอรมัน เป็นต้น  และมักจะพบร่วมกับพัฒนาการของทารกขณะอยู่ในครรภ์ อาจมีการแสดงออกร่วมกับความผิดปกติของใบหน้าหรือใบหู เราสามารถป้องกันได้โดยการตรวจสุขภาพและพันธุกรรมก่อนที่จะมีบุตร สำหรับเด็กแรกคลอดปัจจุบันมีเครื่องมือแพทย์ที่สามารถตรวจประสาทหูชั้นในได้แล้ว

  • ฟังเสียงที่มีความดังกว่าปกติเป็นเวลานาน

เสียง เป็นปัจจัยหลักที่สามารถส่งผลที่เป็นอันตรายต่ออวัยวะหูและความสามารถในการได้ยินของมนุษย์ได้ เราอาจจะคิดว่าเสียงไม่มีพิษภัยอะไร แต่การฟังเสียงที่มีความดังมากกว่าปกตินั้นสามารถทำให้ หูหนวก หรือหูดับได้ทั้งแบบเฉียบพลันและแบบค่อยเป็นค่อยไปซึ่งสามารถส่งผลกระทบในระยะยาว ตัวอย่างเช่น ผู้ที่ทำงานในบริเวณที่มักจะมีเสียงดัง ผู้ที่ชอบฟังเพลงนานๆ การเที่ยวสถานบันเทิงซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีเสียงเพลงดังเป็นประจำ ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษทางเสียง การที่หูได้รับเสียงที่มีความดังเกิน 85 เดซิเบล อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานมักจะมีอัตราเสี่ยงที่จะหูหนวกมากกว่า

Leave a Reply