เรื่องที่ควรรู้ของการเริ่มต้นตั้งครรภ์

เรื่องที่ควรรู้ของการเริ่มต้นตั้งครรภ์

ที่ตรวจครรภ์

จุดเริ่มต้นของการตั้งครรภ์เริ่มจากไข่ได้รับการปฏิสนธิและตัวอ่อนมาฝังตัวที่ผนังมดลูก จะมีการสร้างฮอร์โมน HCG (Human Chorionic Gonadotropin) หากเมื่อประจำเดือนขาดในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว เรื่องที่ต้องสงสัยไว้ก่อนอันดับแรก แน่นอนว่าคือ “การตั้งครรภ์” หรือ “ตั้งท้อง” แต่นี่ถือเป็นข้อมูลเบื้องต้นก่อนได้ผ่านการใช้ที่ตรวจครรภ์ ถึงแม้จะที่ตรวจครรภ์แล้วพบว่าตั้งครรภ์ก็ตาม ก็ควรจะไปพบแพทย์ด้วยการตรวจปัสสาวะหรือตรวจเลือด เพื่อเช็กดูค่าฮอร์โมนเอชซีจี (HCG) ให้แน่ใจว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นแล้วจริงๆ

การตั้งครรภ์ คืออะไร 

การตั้งครรภ์ คือ การเจริญของลูกตั้งแต่หนึ่งที่เรียกว่า เอ็มบริโอ หรือ ทารกในครรภ์ในมดลูกของผู้หญิง ซึ่งเป็นชื่อสามัญของการตั้งครรภ์ในมนุษย์ เอ็มบริโอเป็นลูกที่กำลังเจริญในช่วง 8 สัปดาห์แรกหลังเริ่มตั้งท้อง จากนั้นจะใช้คำว่า ทารกในครรภ์จนกระทั่งคลอด 

เทคนิคการตรวจการตั้งครรภ์

เทคนิคตรวจสอบการตั้งครรภ์ผ่านทางที่ตรวจครรภ์ ตรวจเลือด และตรวจปัสสาวะ ใช้หลักการที่ตรวจหาฮอร์โมนเอชซีจี (Human Chorionic Gonadotropin หรือ HCG) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกิดจากตัวอ่อนหลังการปฏิสนธิ 6 วันขึ้นไป แต่ระดับฮอร์โมนเอชซีจี (HCG) ยังถือว่าต่ำมาก บ่งบอกการตั้งครรภ์และอายุครรภ์คร่าวๆ ฮอร์โมนนี้มีความยาวของกรดอะมิโน 237 ตัว ชุดน้ำยาในที่ตรวจครรภ์อ่านผลได้จากการดักจับฮอร์โมนเอชซีจี (HCG) ส่วนวิธีการตรวจตั้งครรภ์ด้วยวิธีทางห้องปฏิบัติการ จะใช้ชุดน้ำยาตรวจสอบที่จับส่วนประกอบย่อยของฮอร์โมนเอชซีจี (HCG) ที่มีอยู่ 2 ส่วน ได้แก่

  • อัลฟ่า เอชซีจี (Alpha Subunit หรือ Alpha-hCG) มีความยาวของกรดอะมิโน 92 ตัว
  • เบต้า เอชซีจี (Beta Subunit หรือ Beta-hCG) มีความยาวของกรดอะมิโน 145 ตัว

และจากนั้นจะเพิ่มอย่างรวดเร็วก็ต่อเมื่อถึงช่วงอายุครรภ์ประมาณ  12 สัปดาห์ 

การตั้งครรภ์ของมนุษย์แบ่งเป็น 3 ไตรมาส ดังนี้

ไตรมาสแรก

มีความเสี่ยงการแท้งเอง เป็นการตายธรรมชาติของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์สูงสุด 

ไตรมาสที่สอง

เป็นการเริ่มเฝ้าสังเกตการ และวินิจฉัยของการเจริญของทารกในครรภ์ได้ง่ายขึ้น 

ไตรมาสที่สาม

เป็นการเจริญของทารกในครรภ์เพิ่ม และการเจริญของแหล่งสะสมไขมันของทารกในครรภ์ จุดความอยู่รอดได้ของทารกในครรภ์ (Point Of Fetal Viability) หรือจุดเวลาที่ทารกในครรภ์สามารถดำรงชีวิตได้นอกมดลูก ปกติตรงกับปลายไตรมาสที่ 2 หรือต้นไตรมาสที่ 3 ทารกที่คลอดก่อนจุดนี้ จะมีความเสี่ยงสูงต่อภาวะทางการแพทย์หรือตาย

อย่างไรก็ตาม การตั้งครรภ์ถือเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่บางครั้งธรรมชาติก็ไม่ได้สวยงามเสมอไป อาจเกิดอันตรายกับแม่และลูกในครรภ์ได้ ดังนั้นควรเตรียมพร้อมและปรึกษาคุณหมอก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อประเมินความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

Leave a Reply